งานวิจัยปี 2555

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแหล่งน้ำพุร้อนในภาคตะวันตกของประเทศไทย

(Community Participatory Action Research for Hot Spring Tourism Development in the Western Thailand)

โดย รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมโชค และคณะ

1

การวิจัยนี้ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 3 โครงการ คือ
โครงการย่อยที่ 1 : การศึกษาสภาพแวดล้อม อุทกวิทยาอุทกธรณีวิทยาและคุณภาพน้ำเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแหล่งน้ำพุร้อนในภาคตะวันตกของประเทศไทย
โครงการย่อยที่ 2: การฟื้นฟูแหล่งน้ำพุร้อนจากการหาโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้ผิวดินด้วยการวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าระดับลึกละเอียดสูง

                         เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว และ
โครงการย่อยที่ 3 :การพัฒนาศักยภาพของแหล่งน้ำพุร้อนในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

โครงการการวิจัยเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน

โดย นางสาวกาญจนา  สมมิตร และคณะ

การวิจัยเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในเขตภาคเหนือตอนบนเป็นโครงการแผนงานที่ทำการสังเคราะห์ผลการวิจัยจากโครงการย่อยทั้ง 3 โครงการได้แก่ โครงการศึกษาอุปทานการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในเขตภาคเหนือตอนบน โครงการศึกษาอุปสงค์การท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญ
ประโยชน์ในเขตภาคเหนือตอนบนและโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและเว็บไซต์การท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในเขตภาคเหนือตอนบน เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของแผนงานทั้ง 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ของการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในเขตภาคเหนือตอนบน 2.เพื่อศึกษาเงื่อนไขและปัจจัยในการทำให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในเขตภาคเหนือตอนบน และ 3) เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว

เชิงบำเพ็ญประโยชน์ในเขตภาคเหนือตอนบนเป็นรูปแบบหนึ่งสำหรับการท่องเที่ยวการสังเคราะห์การวิจัยครั้งนี้ได้สังเคราะห์ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์ผู้จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์จำนวน 55 องค์กรใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และจากแบบสอบถามนักท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในเขตภาคเหนือตอนบน

2

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

โครงการ “การบูรณาการทุนทางสังคมของแหล่งท่องเที่ยวในการเชื่อมโยงสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดลำปาง”

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.บุญฑวรรณ วิงวอน และคณะ

3

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ (1) วิเคราะห์บริบทและทุนทางสังคมด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงนิเวศ จังหวัดลำปาง (2) ศึกษาความเป็นไปได้ในการบูรณาการหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว (3)ทดลองเส้นทางการท่องเที่ยวจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประเมินผลศักยภาพของสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงนิเวศและ (4) เพื่อติดตามสนับสนุนและประเมินผลโครงการวิจัยย่อย 2 โครงการและมีการบูรณาการข้อมูลและค้นหาคุณลักษณะเฉพาะ/สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงนิเวศของจังหวัดลำปางสู่การรับรู้ด้านอัตลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของจังหวัดลำปาง (5) เพื่อเชื่อมโยงสารสนเทศเชิงวัฒนธรรมและเชิงนิเวศกับจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยาและแพร่ (เส้นทาง R3A) และ (6)เพื่อสังเคราะห์โครงการวิจัยเรื่องการบูรณาการทุนทางสังคมของแหล่งท่องเที่ยวในการเชื่อมโยงสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดลำปาง

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

แผนงานการบริหารจัดการภาพลักษณ์จุดหมายปลายทางของประเทศไทยในยุคเครือข่ายสังคม

โดย ศาสตราจารย์ ดร. ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย และคณะ

4

การมุ่งเน้นการสร้างและเผยแพร่ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวทีดีให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะเป็นประโยชน์ในด้านการกําหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกันการสร้างภาพลักษณ์จุดหมายปลายทางนั้นมีความสำคัญมากสำหรับสินค้าประเภทการท่องเที่ยวเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าที่จับต้องได้ที่สามารถมองเห็นสินค้าได้ขณะกำลังตัดสินใจซื้อ อย่างไรก็ตามภาพลักษณ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาที่ผ่านไป จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาอย่างเป็นระบบและ ต่อเนื่องตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปนอกจากนี้เครือข่ายสังคมออนไลน์ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในการนำมาประยุกต์ใช้ทางการตลาด ซึ่งรวมถึงการสร้างภาพลักษณ์จุดหมายปลายทางด้วยจากความสำคัญของการสร้างภาพลักษณ์จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวดังกล่าวคณะผู้วิจัยจึงมุ่งที่จะศึกษาการบริหารจัดการภาพลักษณ์จุดหมายปลายทางของประเทศไทยในยุคเครือข่ายสังคม โดยได้แบ่งงานวิจัยเรื่องนี้ออกเป็น 2 โครงการ ได้แก่การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อสร้างภาพลักษณ์จุดหมายปลายทางของประเทศไทยการพัฒนาและวิเคราะห์การสร้างภาพลักษณ์จุดหมายปลายทางของกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอื่

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

กลยุทธ์ขับเคลื่อนคลัสเตอร์การท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดภาคใต้
ฝั่งอันดามัน : กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต
(Strategy for Mobilizing Tourism Cluster Participatory in Sustainable Tourism Development in Andaman
Coastal Provinces : A Case Study of Phuket Province)

โดย ผศ.ดร.รักษ์พงศ์  วงศาโรจน์ และคณะ

5

แผนการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาและจัดทำกลยุทธ์และคู่มือแนวทางการสร้างเสริมความตระหนักต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวและแนวทางการเสริมสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของของภาคส่วนต่างๆในคลัสเตอร์ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตตามแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตแผนการวิจัยเพื่อพัฒนากลยุทธ์ขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนนี้ มีกรอบการวิเคราะห์เป็นลำดับขั้นโดยเริ่มจาก (1) การวิเคราะห์เพื่อนิยามและเป้าหมายของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน แล้วจึง (2) วิเคราะห์เชื่อมโยงเป้าหมายดังกล่าวกับบทบาทที่ควรจะเป็นเพื่อทำให้เป้าหมายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผล จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของงานวิจัยนี้ ได้แก่ มัคคุเทศก์ ธุรกิจทัวร์ ธุรกิจบริการนักท่องเที่ยว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในเขตพื้นที่ท่องเที่ยว แล้ว (3)ดำเนินการสำรวจสภาพปัจจุบันว่ากลุ่มเป้าหมายทั้ง 5 กลุ่มดังกล่าวมีความตระหนักและขีดความสามารถในระดับใด  และ (4) วิเคราะห์ถึง เงื่อนไขภายในและปัจจัยภายนอกต่างๆที่มีส่วนสนับสนุนในกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มปฏิบัติได้ตามบทบาทข้างต้นอย่างได้มีประสิทธิผล

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวฮาลาลฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศมุสลิม
(Increasing  Halal  Tourism  Potential  at  Andaman Gulf  in  Thailand  for  Muslim Country)

โดย ดร.อรพรรณ  จันทร์อินทร์ และคณะ

6

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวฮาลาลฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศมุสลิม  มีวัตถุประสงค์คือ1) เพื่อเสนอแนวทางการวางแผนการตลาดการท่องเที่ยวฮาลาลสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศมุสลิม 2)เพื่อเสนอทางเลือกในการจัดการการท่องเที่ยวฮาลาลสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศมุสลิมให้กับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจด้านการท่องเที่ยว  3)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวฮาลาล เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศมุสลิม 4) เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวฮาลาลสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศมุสลิม 5) เพื่อเสนอทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศมุสลิม

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

แผนงานวิจัย การพัฒนาทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558

(The Development of Human Capital in Tourism Industry for ASEAN Community 2015 Cooperation)

โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  กาญจนกิจ และคณะ

7

โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 2 โครงการ คือ โครงการวิจัยเรื่องการเตรียมบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 และโครงการวิจัยเรื่อง การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในกลุ่มประเทศเจบริค (JBRIC: Japan, Brazil, Russia, India and china) และกลุ่มประเทศอาเซียน(ASEAN) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรมาตรฐานสำหรับการพัฒนาบุคลากรผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในกลุ่มประเทศเจบริค (JBRIC) และกลุ่มประเทศอาเซียน(ASEAN) และเพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคอาเซียน

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

(The Model and Process of Buddhism-based Tourism Development in Thailand)

โดย พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น), ดร. และคณะ

8

แผนการศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย” เกิดขึ้นจากความสนใจที่จะศึกษาถึงอัตลักษณ์ เส้นทางการท่องเที่ยว การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดในสังคมไทย โดยมีโครงการวิจัยย่อย 4 โครงการ ในพื้นที่ 4 ภูมิภาคของสังคมไทย ได้แก่
1) รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ :  กระบวนการเปลี่ยนแปลง “เส้นทางบุญ” สู่ “เส้นทางธรรม”
2) รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภาคเหนือ : กระบวนการเรียนรู้สู่การสร้างสรรค์เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
3) รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภาคกลาง : การจัดการพุทธศิลป์ถิ่นสยามเพื่อความงดงามของจิตใจและปัญญา
4) รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภาคใต้ : การสื่อสารคุณค่าและการพัฒนาเชิงบูรณาการ

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

แผนงานการท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรมในพื้นที่อารยธรรมล้านนาตะวันออก

The Architectural Tourism in the Cultural of Eastern Lanna

โดย นายอัมเรศ เทพมา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประกอบศิริ ภักดีพินิจ

9

แผนงานวิจัยเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรมในพื้นที่อารยธรรมล้านนาตะวันออกประกอบด้วย 2 โครงการวิจัยย่อย คือโครงการวิจัยสถาปัตยกรรมไตในดินแดนอารยธรรมล้านนาตะวันออก และโครงการวิจัยรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรมอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่ล้านนาตะวันออก  มีพื้นการศึกษาในจังหวัด เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน โดยมีวัตถุประสงค์ 5 ข้อ คือ 1)เพื่อสร้างแนวทางและทิศทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรมแบบบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อนโยบายการท่องเที่ยวของประเทศในอนาคต 2) เพื่อเป็นการค้นคว้าผลงานทาง สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของชาติผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน 3)เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพในการ เข้าถึงความรู้เข้าใจในคุณค่าของภูมิปัญญาพื้นถิ่นและบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาผลงานสถาปัตยกรรมของชาติ ระหว่างชุมชนเป้าหมายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลของฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวของชาติ 5) เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลเชิงวิชาการบนฐานข้อมูลความรู้ทางด้านภูมิปัญญาพื้นถิ่น

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

แผนงานรูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายที่เหมาะสมสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติ

(The Suitable Tourism Pattern and Activities in Chiang Rai Province for Elderly Foreigner Tourist)

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิรุณสิริ  ใจมา และคณะ

10

แผนงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติ 2) ศึกษาและพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายที่เหมาะสมสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติ  ซึ่งประกอบด้วยการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และนิเวศ และ 3) พัฒนากลยุทธ์สื่อสารการตลาดสำหรับรูปแบบการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายสำหรับผู้สูงอายุชาวต่างชาติโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์  และการสนทนากลุ่ม

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

Copyright 2016. All Rights Reserved. Tourism and Hospitality Management Program