งานวิจัยปี 2555

การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างสร้างสรรค์ของผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่

(Creative Ecotourism Development of Dong Phayayen - Khao Yai  Natural World Heritage)

โดย นายชลธร ชำนาญคิด และคณะ

11

แผนงานวิจัยเรื่องการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างสร้างสรรค์ของผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ประกอบด้วย ๒ โครงการวิจัยย่อย ได้แก่โครงการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์เพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนและโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประเมินสถานภาพและความพร้อมของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนำเสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์วางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมจัดทำแนวทางและคู่มือการแก้ไขปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพันาระบบฐานข้อมูลทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนตลอดจนการนำเสนอแนวทางและแนวนโยบายในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสมต่อการจัดการพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็น – เขาใหญ่

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

แผนงานการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนบนพื้นที่สูง โดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือ
กรณีศึกษา อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
Strengthening Upland Community By Using Community-Base Tourism As a Tools : A Case of
Kallayaniwattana, Chiang Mai

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงพร อ่อนหวาน และคณะ

12

แผนงานวิจัยการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ มีโครงการย่อยทั้งหมด 3 โครงการวัตถุประสงค์หลักสอดคล้องกับโครงการย่อยทั้ง 3 โครงการ ได้แก่  1) เพื่อการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนของอำเภอกัลยาณิวัฒนา อย่างเหมาะสม  2) เพื่อการพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน ของอำเภอกัลยาณิวัฒนา ให้สามารถจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ด้วยตนเอง และ 3)เพื่อการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวและระบบสื่อความหมายตามธรรมชาติและวัฒนธรรม และแผนที่สีเขียว (Green Map ภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (7 Green Concept) ของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นแผนงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research)  โดยพื้นที่ศึกษาในอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จาก 3 ตำบลๆ ละ 1 หมู่บ้าน เป็น 3 ชนเผ่า ได้แก่ 1)บ้านวัดจันทร์ ตำบลบ้านจันทร์ ชนเผ่าปกาเกอะญอ  2) บ้านเสาแดง ตำบลแจ่มหลวง ชนเผ่าลีซู  และ 3) บ้านดงสามหมื่น ตำบลแม่แดด ชนเผ่าม้ง

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การสำรวจความพึงพอใจและความภักดีต่อตราของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีต่อธุรกิจสุขภาพองค์รวมของไทยเพื่อการพัฒนา
กลยุทธ์สู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(A Survey of Satisfaction and Brand Loyalty of Foreign Tourists toward Thai Holistic Wellness Centers
for Strategic Development of Thailand as Health Tourism Hub in ASEAN Countries)

โดย ดร.นพ.มโน  เมตตานันโท เลาหวาณิช

13

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจสุขภาพองค์รวมของไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นการบูรณาการผลจากโครงการวิจัยเชิงปริมาณ เรื่องความพึงพอใจและความภักดีต่อตราของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีต่อธุรกิจสุขภาพองค์รวมของไทย เพื่อการพัฒนากลยุทธ์สู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและโครงการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ให้บริการด้านสุขภาพของไทยเพื่อการพัฒนาศูนย์สุขภาพองค์รวมต้นแบบสู่ตลาดอาเซียน การท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาวะถือเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สุขภาวะ คือ การมีสุขภาพดี มีความรู้สึกเป็นสุข ความสมดุล ความเป็นองค์รวมของ 4 มิติ คือ กาย จิต สังคม ปัญญาหรือจิตวิญญาณ ที่บูรณาการอยู่ในการพัฒนามนุษย์และสังคม เพื่อสร้าง “ความอยู่เย็นเป็นสุข”  แนวคิดสุขภาพองค์รวม (Holistic Wellness)ยังคงเป็นแนวคิดใหม่สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจด้านสุขภาพซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันในการตีความขอบเขตของการให้บริการธุรกิจสุขภาพองค์รวม ดังนั้น การให้การจำกัดความแนวคิด “ธุรกิจสุขภาพองค์รวมของไทย” จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการส่งเสริมการขยายธุรกิจสุขภาพองค์รวมและการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการของธุรกิจนี้

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การพัฒนาคลัสเตอร์ของกลุ่มธุรกิจขนมไทยท้องถิ่นและการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศสำหรับเส้นทางใหม่

ของการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อาหารในภูมิภาคตะวันตก

(Cluster development for local Thai dessert commerce and database management system design
to set up the new travelling routes for gastronomic tourism in western region)

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณศรี  ลีจีรจำเนียร และคณะ

14

งานวิจัยนี้จะเป็นการศึกษาและสำรวจข้อมูลการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อาหารด้านขนมไทยในพื้นที่ภูมิภาคตะวันตก  8  จังหวัด  คือ  นครปฐม ราชบุรี  กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม  และสมุทรสาคร โดยโครงการนี้ได้มีการศึกษาและสำรวจข้อมูลการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อาหารด้านขนมไทยในพื้นที่ภูมิภาคตะวันตก ศึกษาภาวการณ์ท่องเที่ยวตลอดจนวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค และพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อาหารด้านขนมไทยในพื้นที่ภูมิภาคตะวันตก โดยศึกษาเส้นทาง 4 เส้นทาง  คือ เส้นทางตามรอยน้ำตาล(โตนด)เส้นทางลำนำคำหวาน  เส้นทางขุดทองลองลิ้ม  และเส้นทางทองคำขาวแห่งธรรมชาติ   เพื่อศึกษาศักยภาพของเส้นทางการท่องเที่ยวดังกล่าว ซึ่งเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวแนวใหม่ของประเทศไทย   ส่วนที่สองเป็นการศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากหรือสินค้าที่ระลึกตามแนวคิดใหม่โดยใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ทางอาหารและแนวคิดเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักท่องเที่ยว  โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์จากนักท่องเที่ยวและการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ  เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์แนวคิดใหม่ที่สอดคล้องกับเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อาหารทั้ง 4 เส้นทาง  แล้วศึกษาศักยภาพความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์แนวคิดใหม่ร่วมกับเส้นทางการท่องเที่ยวดังกล่าว ส่วนที่สามเป็นการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการท่องเที่ยวตลอดเส้นทางการเรียนรู้อาหารด้านขนมไทย  โดยมีข้อมูลของผลิตภัณฑ์ขนมไทยตามสถานที่และเส้นทางท่องเที่ยว แล้วจัดทำเว็บไซต์ระบบสารสนเทศ สำหรับประชาสัมพันธ์และสนับสนุนการท่องเที่ยวและการเรียนรู้ขนมไทยในแต่ละพื้นที่ของภูมิภาคตะวันตก

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การพัฒนาบทบาทของเครือข่ายการท่องเที่ยว PTCC เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ในวิสาหกิจการท่องเที่ยวในเมืองพัทยา
เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(A Role Development of Pattaya Tourism Cluster Center for Human Capital Development  toward
the competition in ASEAN Economic Community (AEC))

โดย วุฒิชาติ สุนทรสมัย และคณะ

15

การพัฒนาบทบาทของเครือข่ายการท่องเที่ยวเมืองพัทยา (Pattaya Tourism Cluster Canter : PTCC)เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ในวิสาหกิจการท่องเที่ยวในเมืองพัทยาเพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์ 6 ข้อ คือ วิเคราะห์และระบุปัญหาด้านทุนมนุษย์ของวิสาหกิจขนาดย่อมของเมืองพัทยาในเครือข่าย PTCC ทำการกลั่นกรองและคัดเลือกประเด็นปัญหาด้านทุนมนุษย์ในวิสาหกิจขนาดย่อมด้านการท่องเที่ยวแล้วแสวงหาหรือพัฒนากลไกในการพัฒนาบุคลากรของวิสาหกิจขนาดย่อมในเครือข่าย PTCC จากนั้นดำเนินการพัฒนาทุนมนุษย์ของเครือข่ายวิสาหกิจขนาดย่อม PTCC ในเมืองพัทยาตามที่กำหนดโดยที่มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินการพัฒนาทุนมนุษย์ของเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยอาศัยฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยวของเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยว PTCC รวมทั้งเสนอบทบาทของเครือข่ายการท่องเที่ยว PTCC เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ในวิสาหกิจการท่องเที่ยวในเมืองพัทยาด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมโดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเพื่อวัดค่าตัวแปรตามกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลด้วยการให้ผู้ประกอบการและพนักงานของวิสาหกิจขนาดย่อมด้านการท่องเที่ยวที่เป็นสมาชิกและต้องการเป็นสมาชิกของศูนย์เครืข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวเมืองพัทยา เป็นกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง รวมทั้งแบบสอบถามวัดผลการพัฒนาทุนมนุษย์ก่อนและหลังการพัฒนาแล้วได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้แบบสรุปการระดมความคิดเห็น แบบสรุปการสัมภาษณ์และแบบสรุปการศึกษาดูงาน เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกและการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มตัวอย่างเดิม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาการสรุปและการสังเคราะห์ผลการสัมภาษณ์และการประชุมกับผู้ประกอบการและพนักงาน

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

ยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่มและการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย
โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

(Strategy of development in Value Adding and Competitiveness for Tourism Industry of Thailand by
Using Social Network)

โดย ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง

16

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยวและสถานประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย 2) พัฒนารูปแบบ (Model) การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเทศไทย 3)จัดทำแผนยุทธศาสตร์การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเทศไทย และ 4)สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยโดยใช้เครือข่ายของสังคมออนไลน์ การวิจัยในแผนงานนี้เป็นการวิจัยเชิงบูรณาโดยนำผลจากวิจัยในโครงการที่ 1 และโครงการที่ 2 มาสังเคราะห์เพื่อให้ได้ “องค์ความรู้”และนำผลการของการวิจัยไปจัดงานสัมมนาให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวได้นำผลการวิจัยไปประยุกต์ในธุรกิจ

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

แผนงานการยกระดับความปลอดภัยในการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติตามมาตรฐานสากล

(The Standard of Safe Journeys for Foreign Tourists)

โดย ทวีศักดิ์  แตะกระโทก

17

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยวและสถานประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย 2)พัฒนารูปแบบ (Model) การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเทศไทย 3)จัดทำแผนยุทธศาสตร์การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเทศไทย และ 4)สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยโดยใช้เครือข่ายของสังคมออนไลน์ การวิจัยในแผนงานนี้เป็นการวิจัยเชิงบูรณาโดยนำผลจากวิจัยในโครงการที่ 1 และโครงการที่ 2 มาสังเคราะห์เพื่อให้ได้ “องค์ความรู้” และนำผลการของการวิจัยไปจัดงานสัมมนาให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวได้นำผลการวิจัยไปประยุกต์ในธุรกิจ

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยวตามเส้นทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม
แม่น้ำโขงตอนบน: กรณีศึกษา ประเทศไทย (เชียงราย/เชียงแสน) สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (เชียงตุง) สาธารณรัฐ
ประชาชนจีน (เชียงรุ้ง) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เชียงทอง หลวงพระบาง)

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์

18

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกลยุทธ์ระดับธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตราและการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ลดช่องว่างระหว่างความคาดหวัและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวและบทบาทของภาครัฐต่อการสร้างการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยวตามเส้นทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน: กรณีศึกษา ประเทศไทย (เชียงราย/เชียงแสน) สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (เชียงตุง) สาธารณรัฐประชาชนจีน (เชียงรุ้ง) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เชียงทอง หลวงพระบาง) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากโครงการวิจัยย่อย คือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนเพื่อตอบสนองต่อช่องว่างความคาดหวังและการรับรู้ แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตราและการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กลยุทธ์ระดับธุรกิจเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของภาคเอกชน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวตามเส้นทางท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนที่เชียงแสน ประเทศไทย เชียงทอง ประเทศลาว ตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การเพิ่มศักยภาพ มูลค่า และคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่อีสานใต้

(The Increasing Potential of Value and Worth of Tourism Product in Lower Northeastern of Thailand)

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อินทิรา ซาฮีร์ และคณะ

19

แผนงานวิจัยการเพิ่มศักยภาพ มูลค่า และคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่อีสานใต้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ (1)พัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นให้สามารถพัฒนาการท่องเที่ยวในท้องถิ่นอีสานใต้อย่างยั่งยืนด้วยตนเอง (2) ยกระดับศักยภาพ มูลค่า และคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอีสานใต้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว (3) ค้นหาศักยภาพทางการตลาดการท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ และความงามอันจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางท่องเที่ยว (4) สร้างศักยภาพของชุมชนในเขตอีสานใต้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบำเพ็ญประโยชน์ และ (5)ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและคนในชุมชนสามารถใช้ฐานข้อมูลสารสนเทศคาดการณ์และวางแผนการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวตลอดจนบริหารจัดการและธำรงรักษาฐานทรัพยากรทางการท่องเที่ยวในเขตอีสานใต้ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย การวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบสอบถาม (Questionnaire)และการศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบ (Field trip) โดยมีพื้นที่การศึกษาในเขตพื้นที่อีสานใต้ ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีและอำนาจเจริญ รวมถึงจังหวัดบัณเตียรเมียนเจย ประเทศกัมพูชา

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลทุนมนุษย์ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(Development of Human Capital Database System of Tourism Industry to Serve ASEAN Economic
Community)

โดย ดนัย ลิสวัสดิรัตนากุล

20

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาตัวแบบและชุดฐานข้อมูลบุคลากรทางการท่องเที่ยวตามคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (Mutual Recognition Arrangement on Tourism Professionals) และตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการรวมทั้งอัตราค่าตอบแทนและสวัสดิการของบุคคลากรทางการท่องเที่ยวจากตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยสำหรับการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)  3) เพื่อศึกษาหลักสูตรทางด้านการท่องเที่ยวของสถาบันอุดมศึกษาที่สัมพันธ์กับคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียนสำหรับการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 4) เพื่อพัฒนาชุดฐานข้อมูลทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสำหรับการรองรับประชาคมอาเซียน (AEC)เป็นการวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพที่เกิดจากสืบค้น วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิโดยมีการบูรณาการผลการศึกษาวิจัยของโครงงานย่อยทั้งสามของแผนงานวิจัยเพื่อนำผลจากการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากโครงการย่อยที่ได้มาออกแบบตัวแบบระบบฐานข้อมูลทุนมนุษย์ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อรองรับกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

Copyright 2016. All Rights Reserved. Tourism and Hospitality Management Program