งานวิจัยปี 2555

การจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของอัตลักษณ์ชุมชนลำปาง

(The Co-creation of Tourism Management for Sustainable Development of Lampang Community
Identity)

โดย ศรีศุกร์ นิลกรรณ์ และคณะ

21

แผนการวิจัยนี้เป็นการดำเนินงานวิจัยร่วม 6 โครงการ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อกำหนด       อัตลักษณ์ชุมชนจังหวัดลำปางที่มีส่วนส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ 2.เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและในการจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ในชุมชนจังหวัดลำปาง 3.เพื่อพัฒนาสื่อการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง 4. เพื่อสร้างระเบียบชุมชนว่าด้วยการจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ 5.เพื่อพัฒนาเรื่องเล่าชุมชนจังหวัดลำปางให้มีมาตรฐานทางการท่องเที่ยวอย่างถูกต้อง 6.เพื่อพัฒนาเครือข่ายการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การธุรกิจด้านการท่องเที่ยว 7. เพื่อพัฒนามาตรฐานสินค้าหัตถกรรมชุมชนและบริการเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง และ 8. เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ และยั่งยืนจากอัตลักษณ์ชุมชนลำปาง

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

โครงการศึกษาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ในประเทศไทย

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. แก้วตา  โรหิตรัตนะ และคณะ

22

แผนงานวิจัยนี้เกิดขึ้นจากความสำคัญและบทบาทของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกอปรกับลักษณะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่ขาดการเชื่อมโยงและสอดประสานระหว่างหน่วยต่างๆคุณภาพการให้บริการของระบบขนส่งสาธารณะภายในประเทศไทยยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับระดับสากล รวมถึงความพร้อมด้านนโยบายด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยต่อการเปิดประชาคมอาเซียนงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการบริการจัดการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพ สามารถรองรับต่อการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายใต้สภาวะการแข่งขันที่มากขึ้น และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปของภูมิภาคที่กำลังจะรวมตัวกันกลายเป็นประชาคมอาเซียน โดยใช้การทบทวนวรรณกรรมและบูรณาการผลการศึกษาของโครงการภายใต้แผนงาน 3 โครงการคือโครงการศึกษาเปรียบเทียบนโยบายและแผนพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยและสมาชิกประเทศอาเซียนตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC 2015) โครงการศึกษาโซ่อุปทานและตัวแบบข้อมูลในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยและโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการระบบขนส่งสาธารณะสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทย

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การศึกษาศักยภาพและมูลค่าผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต่อการสร้างรายได้ในพื้นที่ภาคใต้

(The Study of Potential and Value of Tourism Products in Southern Thailand)

โดย ดร.ปิยะ ปานผู้มีทรัพย์

23

การศึกษาศักยภาพและมูลค่าผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต่อการสร้างรายได้ในพื้นที่ภาคใต้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพผลิตภัณฑ์และการตลาดทางการท่องเที่ยว ประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของเส้นทางการท่องเที่ยวเดิมและใหม่ในพื้นที่ภาคใต้ และวัดการกระจายรายได้จากเส้นทางการท่องเที่ยวพื้นที่ในการศึกษาประกอบด้วยจังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดกระบี่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพังงา จังหวัดสงขลา และจังหวัดระนอง

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การศึกษารูปแบบ (Model) การจัดการขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) การท่องเที่ยวโดยชุมชน

โดย สุภาวิณี ทรงพรวาณิชย์ และคณะ

24

งานวิจัยมุ่งศึกษาวิธีการจัดการขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในบริบทที่หลากหลายเพื่อเป็นการกำหนดแนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เหมาะสม รวมทั้งการนำแนวทางนั้นมาทดลองปฏิบัติการเพื่อปรับแผนการพัฒนาและจัดการท่องเที่ยวที่เหมาะสมและไม่สร้างผลกระทบในด้านต่างๆ ต่อชุมชนชุดโครงการวิจัยในปีที่ 2 นี้ เป็นการศึกษาวิจัยต่อเนื่อง เพื่อเน้นการทดลองปฏิบัติการ ในการสร้างพื้นที่รูปธรรมให้เกิดขึ้น

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การศึกษาอุปสงค์เพื่อการปรับตัวทางด้านอุปทานของนักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกลาง

โดย ศาสตราจารย์ ดร.อิศรา ศานติศาสน์

25

รายงานวิจัยชุดโครงการนี้ ชี้ว่าการให้บริการการท่องเที่ยวแก่โลกมุสลิม โดยเฉพาะตะวันออกกลาง มีจุดเด่นหลายประการ เช่น ช่วงเวลาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ที่ช่วยเติมเต็มอุปสงค์ในช่วงนอกฤดูกาลการท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายและกำลังซื้อซึ่งมากกว่านักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นในขณะเดียวกัน ยังมีอีกหลายประเด็นที่ประเทศไทยต้องปรับปรุงและแก้ไขตั้งแต่การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอิสลามและวัฒนธรรมของโลกมุสลิม รวมอาหารฮาลาล สถานที่ทำละหมาด ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารและบอกเส้นทาง แหล่งท่องเที่ยว ที่ไม่ใช่แหล่งเริงรมย์ รูปแบบห้องพักและการสร้างทัศนคติที่ดีต่อมุสลิมจากต่างแดน

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนสำหรับภูมิภาคอาเซียนสู่ความเป็นสากล

(The Development of Community Based Tourism Standard in ASEAN Region towards International
Credibility)

โดย พจนา สวนศรีและคณะ

26

แผนงานวิจัยมีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนและแนวทางในการผลักดันให้มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้รับการบรรจุเข้าเป็นมาตรฐานระดับชาติกรณีศึษาประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขและข้อจำกัดของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการรองรับมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนของไทย 3)เพื่อศึกษาความต้องการของตลาดต่อมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาประเทศไทยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ขอบเขตในการศึกษาเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศสมาชิกอาเซียน คลอมคลุมทั้ง 10 ประเทศ ในการศึกษาแผนงานทำหน้าที่ในการบริหารงานโครงการวิจัยย่อย 3 โครงการ โดยที่โครงการย่อยที่ 1 เน้นเรื่องศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนและมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอาเซียน โครงการวิจัยย่อยที่ 2เน้นศึกษาเจาะลึกในระดับชุมชนถึงเงื่อนไขและข้อจำกัดในเรื่องมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน    และโครงการย่อยที่ 3เน้นเรื่องความต้องการของตลาดต่อมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ผ่านการจัดการชุมชนโดยเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาผู้ประกอบการชุมชน
และการตลาด ตามแนวพระราชดำริ พื้นที่ตำบลเทพเสด็จ อ.ดอยสะเก็ด เชียงใหม่

(New Tourism Area Development Through Community Management in Environmental Conservation
for Community Entrepreneur development and Marketing  Follows Her Majesty Task  in 
Tepsadej District, Doisaked, Chiangmai.)

โดย ผศ.ดร. ภูษณิศา เตชเถกิง และคณะ

27

งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาและประเมินทรัพยากรทางการท่องเที่ยว วิเคราะห์พื้นที่โดยใช้แนวคิดช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ(ROS)ความสามารถของชาวบ้านในการจัดการชุมชนเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน โดยวิธีการจัดการชุมชน ศึกษาการสร้างผู้ประกอบการศึกษาการพัฒนาด้านการตลาดท่องเที่ยวและสร้างความเข้มแข็งทางการเงินแก่ชุมชน โดยวิธีการบริหารการเงิน

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การศึกษาศักยภาพและมูลค่าของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต่อการสร้างรายได้ของจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี สระแก้ว
และสมุทรสาคร ในเขตภาคกลาง

A Study of Potential and Value of Tourism Products for Increasing Income in Chai Nat, Sing Buri,
Sa Kaeo, and Samut Sakhon Provinces, in the  Central Region of Thailand.

โดย รองศาสตราจารย์  ศิริชัย พงษ์วิชัย

28

การศึกษานี้เป็นการบูรณาการของ 3 โครงการย่อยคือ 1) การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยว 2) แผนการตลาดท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ 3)การจัดการความรู้การท่องเที่ยวและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมรายได้อย่างยั่งยืนของทั้ง 4 จังหวัด มีวิธีการศึกษาร่วมกันคือการดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สำหรับการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพได้ทำการไปพร้อมกันโดยศึกษาเชิงลึกแบบสนทนากลุ่มย่อยกับกลุ่มบุคคล 3 กลุ่มคือ กลุ่มประชาชนในพื้นที่กลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว และกลุ่มองค์กรท้องถิ่นทั้งหน่วยราชการ โดยทำการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 พื้นที่ต่อ 1 จังหวัด สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณแต่ละโครงการใช้แบบสำรวจของแต่ละโครงการและบูรณาการผลการศึกษาร่วมกัน โดยทำการศึกษาจากนักท่องเที่ยวที่เคยและอยู่ระหว่างการท่องเที่ยว โดยการศึกษาเน้นการศึกษาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยว 5 ผลิตภัณฑ์ คือ อาหาร นันทนาการ ที่พัก  องค์ความรู้ ธรรมชาติ

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การสร้างคุณค่าอาหารไทยท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภาคเหนือ

Value Creation of Local Thai Food for Northern Thailand Tourism

โดย พัชรี ตั้งตระกูล และคณะ

29

อาหารท้องถิ่นภาคเหนือมีเอกลักษณ์และศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ในลักษณะ Gastronomy Tourism เพราะอาหารท้องถิ่นภาคเหนือมีคุณลักษณะเฉพาะที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์  มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมชนเผ่า สะท้อนวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นอยู่ การเผยแพร่อาหารท้องถิ่นภาคเหนือที่มีเอกลักษณ์สูง โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหารเหนือ ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัดได้แก่ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน สำรวจชนิดของอาหาร สถานที่ตั้งของร้านอาหารและวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและสุขภาพ เพื่อรวบรวมเป็นความรู้ให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้รับประทานอาหารเหนือที่หลากหลายชนิด เป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อาหารไทยท้องถิ่นในภาคเหนือตอนบน เช่น ที่จังหวัดตาก ที่ส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่รู้จัก  ได้รับการสนับสนุนให้มีการนำขึ้นเป็นเมนูวางไว้บนโต๊ะอาหารในร้านอาหาร เพื่อเป็นการนำเสนอให้ลูกค้าทดลองชิมดู เป็นการส่งเสริมการบริโภคอาหารท้องถิ่นของจังหวัดตาก ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูง คือ แกงถั่วมะแฮะ ยำข้าวแคบ ผัดเต้าเจี้ยว และข้าวต้มผงกะหรี่ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ชนิดอาหาร สถานที่จำหน่าย และคุณค่าด้านสุขภาพ ผลการดำเนินงานมีร้านอาหาร 3 แห่งในอำเภอเมืองตาก จำหน่ายอาหารท้องถิ่นตาก

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การศึกษาศักยภาพและมูลค่าของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต่อการสร้างรายได้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และน่าน
ในเขตภาคเหนือ

The Study of the Potential and Value on Tourism Product for increasing income of Uttaradit, Phare,
and Nan Province in Northern Part of Thailand

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภาศรี ศรีประดิษฐ์ และคณะ

30

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมตลอดจนการศึกษาอุปสงค์และอุปทานของการท่องเที่ยว เพื่อกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านการตลาดท่องเที่ยวจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และน่าน

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

Copyright 2016. All Rights Reserved. Tourism and Hospitality Management Program