งานวิจัยปี 2555

โครงการศึกษาศักยภาพเส้นทางและมูลค่าเพิ่มของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มจังหวัดสกลนคร นครพนม
มุกดาหาร สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

The study potential and value added in social and cultural tourism route of the province cluster:
Sakonakorn, Nakhon phanom and Mukdahan toward  Asean Economic and Community.

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ ศรีกระจ่าง และคณะ

31

การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาเรื่องราว(Story) ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ที่มีในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มจังหวัดสกลนคร-นครพนม มุกดาหาร ที่เชื่อมโยงกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยใช้แนวคิดความทรงจำทางสังคม (Social memory) เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีที่มีในแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดคุณค่าและมูลค่าในแหล่งท่องเที่ยวและใช้แนวคิดเรื่องการจัดการการท่องเที่ยว การรับรู้และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว (Tourists Expectation and Perception) ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อเส้นทางการท่องเที่ยว (Overall satisfaction with creative tourism route) ร่วมวิเคราะห์ผลการศึกษาครั้งนี้เพื่อให้เห็นถึงมูลค่าที่มีในแหล่งท่องเที่ยว

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

ศักยภาพการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่การเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน

(Potential of tourism sector of the Northeastern Region as Hub to ASEAN Community)

โดย รองศาสตราจารย์ สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์

32

แผนงานวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาศักยภาพของแต่ละภาคส่วนตามกรอบประเด็นของ ASEAN Tourism Strategic Plan 2011 – 2015เพื่อวางกรอบการทำงานในลักษณะบูรณาการสู่แผนปฏิบัติการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางสู่การเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงประชาคมอาเซียนซึ่งเป็นการยกระดับการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง โดยส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมเสริมต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวโดยเน้นให้คนในพื้นที่มีบทบาทในการกำหนดแนวทางในการดำเนินการต่างๆ ด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1)ศึกษาความพร้อมและประเมินศักยภาพของแต่ละภาคส่วนที่เป็นองค์ประกอบใน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตามกรอบประเด็นของ ASEAN Tourism StrategicPlan  2011 – 2015 และ 2) เพื่อให้ได้แนวทางในการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนมีขอบเขตพื้นที่ศึกษาเป็นกลุ่มคลัสเตอร์การท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางทั้ง 4 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร

โดย รองศาสตราจารย์ ภญ. นริศา คำแก่น

33

แผนงานวิจัย เรื่อง “ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร” ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย (1)การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร และ (2) แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร สำหรับพื้นที่ในเขตจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตกภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร (2) จัดทำคู่มือการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร สำหรับพื้นที่ดังกล่าว (3)พัฒนาระบบฐานข้อมูลการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร โดยสามารถเรียกดูผ่านทางโทรศัพท์มือถือ และ (4)จัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

โครงการแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่องานสัมมนา งานแต่งงานและฮันนีมูนรองรับนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย
กลุ่มกำลังซื้อสูง

Development direction for seminar, wedding and honeymoon supported to high-end Indian
tourist groups

 โดย ดร.วณิชยา ศีลบุตร และคณะ

34

งานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวสำหรับงานแต่งงานและฮันนีมูนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มกำลังซื้อสูงจากประเทศอินเดียมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวอินเดียกลุ่มกำลังซื้อสูงเพื่อรองรับงานสัมมนา งานแต่งงานและฮันนีมูนในประเทศไทย 2)ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวอินเดียกลุ่มกำลังซื้อสูงที่จะมางานสัมมนา งานแต่งงานและฮันนีมูนในประเทศไทย 3)ค้นหาแหล่งท่องเที่ยวที่รองรับตลาดสัมมนา งานแต่งงานและฮันนีมูน และ 4) ประเมินศักยภาพของกลุ่มตัวอย่างแหล่งท่องเที่ยวด้านธรรมชาติด้านวัฒนธรรมที่สามารถรองรับการพัฒนาเป็นแหล่งจัดงานสัมมนา แหล่งแต่งงาน และแหล่งฮันนีมูน

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

โครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ปี 2555 เพื่อการจัดทำยุทธศาสตร์
การวิจัย ปี 2556 – 2559

Monitoring and Evaluating Tourism and Service Industry Research  Projects, of 2012 Fiscal Year for
Proposing Research Strategy of the Year  2013  - 2016

โดย รองศาสตราจารย์ดลพร   บุญพารอด

35

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ติดตามการดำเนินงานโครงการวิจัยด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี พ.ศ.2555  2) ประเมินผลโครงการวิจัยด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก วช. ประจำปี พ.ศ. 2555  3)จัดทำสื่อเผยแพร่เกี่ยวกับการวิจัยด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว  4)วิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก วช. ประจำปี พ.ศ. 2555   5)เสนอแนะแนวทางในการสนับสนุนทุนวิจัยด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวประจำปีงบประมาณ 2556  และ 6)จัดทำยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว พ.ศ. 2556 – 2559 ซึ่งแผนงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย 2 โครงการย่อย คือ 1)การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ปี 2555   และ 2)การวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการปี 2555 เพื่อการจัดทำยุทธศาสตร์การวิจัยปี 2556-2559

 

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

Copyright 2016. All Rights Reserved. Tourism and Hospitality Management Program