งานวิจัยปี 2556

1-10

11-20

21-30

31-35

การบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อรองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Community Tourism Management For ASEAN Economic Community (AEC) Preparation.

โดย ดร.ธงชัย ภูวนาถวิจิตร และคณะ

1

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3ประการ คือ1) เพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนการสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวและกรบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ชุ่มน้้ำเวียงหนองหล่ม 2) ศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวยอง ลื้อ อาข่า ชาวไทยอีสาน และชาวพื้นเมืองภาคเหนือ ในพื้นที่ชุ่มน้้ำเวียงหนองหล่ม และแนวทางการจัดการท่องเที่ยวรองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแบบยั่งยืน และ3) ศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมให้ชุมชนท้องถิ่นที่มีความสนใจในการจัดการท่องเที่ยวมีความรู้ ทักษะ ความสามารถทั้งในด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยว การสื่อสารกับนักท่องเที่ยว อย่างมีประสิทธิภาพ จากการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยทั้ง 3 โครงการย่อยในแต่ละวัตถุประสงค์

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การยกระดับการท่องเที่ยวใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย
-ไทย (IMT-GT)เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Enhance Tourism in Five Southern Border Provinces under the Indonesia-Malaysia-Thailand Growth
Triangle: IMT-GT for Sustainable Growth

โดย รองศาสตรจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค และคณะ

2

แผนงานการยกระดับการท่องเที่ยวใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ดำเนินงานในช่วงเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2556 - พฤศจิกายน พ.ศ.2557 โดยมีวัตถุประสงค์1) ต้องการสร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส2) เพื่อจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวตามเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ของไทย กับประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว3) เพื่อได้ข้อเสนอแนะที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและมาตรการในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ แก่ภาครัฐ ท้องถิ่น/ชุมชน และผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวใน 5 จังหวัดชายแดนใต้

 

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

โครงการศึกษาศักยภาพการเป็นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมย่านเมืองเก่าในชุมชนบริเวณ ริมแม่น้าเจ้าพระยาสายเก่าฝั่งธนบุรี: กรณีศึกษาพื้นที่ตลาดพลู – วัดโพธินิมิตร

Study of Capability of Communities for Cultural Tourism Development in Historic Urban and Preservation of Historic Urban Community along Old Chao Phraya River loop of Thonburi are: Case Study of Communities in Talad Phloo and Wat Phonimit

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.บุญฑวรรณ วิงวอน และคณะ

3

การฟื้นฟูและรักษาเอกลักษณ์ของย่านเมืองเก่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสาหรับประเทศไทยหนึ่งในนั้นคือ ตลาดพลู ซึ่งประกอบด้วยความสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของกรุงธนบุรี ย่านการค้าเก่าแก่ และวัฒนธรรมที่สำคัญ ปัจจุบันเนื่องจากพื้นที่ฝั่งธนบุรีมีการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาเมืองน้อยกว่าฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครจึงทำให้ยังคงลักษณะของย่านเมืองเก่าที่มีวิถีชีวิความเป็นอยู่ริมน้ำคูคลองผสมผสานกับวิถีชีวิตชาวสวนอันเป็นเอกลักษณ์รากเหง้าของกรุงเทพฯ ซึ่งมีคุณค่าในฐานะวัฒนธรรม

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

ศักยภาพการท่องเที่ยวตามแม่น้าโขง กรณีศึกษาจากเชียงคานถึงโขงเจียม

The Tourism Potential Toward to Thai - Lao of Khong River: Case Study from Chiangkn to Khongjiam

โดย ประจวบ จันทร์หมื่นและคณะ

4

การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาศักยภาพแม่น้ำโขงในการจัดการท่องเที่ยวทางเรือใน 7 จังหวัดภาคอีสาน (เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี) โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ 1. ศึกษาภูมิศาสตร์เชิงลึกของแม่น้้าโขงและพื้นที่เชื่อมโยงไทย-ลาว เพื่อให้ได้ข้อมูลในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามแม่น้้ำโขง 2. ศึกษาศักยภาพและความเป็นไปได้ในการท่องเที่ยวทางเรือของแม่น้้ำโขง 3. ศึกษาทรัพยากรทางการท่องเที่ยวและอัตลักษณ์ของทรัพยากรทางการท่องเที่ยวตามแม่น้้ำโขงและพื้นที่เชื่อมโยงไทย-ลาว 4. ศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวตามแม่น้ำโขงและพื้นที่เชื่อมโยงไทย-ลาว 5. ศึกษากฎหมาย กรอบความร่วมมือ ข้อตกลงต่าง ๆ ไทย ลาวรวมทั้งอุปสรรคในการพัฒนาการท่องเที่ยวตามแม่น้ำโขง

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรมในมณฑลวัฒนธรรมสองฝั่งโขง

(The Architectural Tourism in The Cultural of Khong River Both Sides)

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประกอบศิริ ภักดีพินิจ และคณะ

5

แผนงานการวิจัยการท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรมในมณฑลวัฒนธรรมสองฝั่งโขง ประกอบด้วยโครงการย่อยจานวน 2 โครงการซึ่งประกอบด้วย โครงการย่อยที่ 1 วิถีแห่ง “เฮือนไต” ในมณฑลวัฒนธรรมสองฝั่งโขง และโครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรมในมณฑลวัฒนธรรมสองฝั่งโขง ซึ่งได้ดำเนินการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ของแผนงานวิจัย คือ 1) เพื่อการค้นคว้าผลงานทางสถาปัตยกรรมประเภทอาคารพักอาศัย (เฮือนไต) ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน 2 เป็นการเตรียมความพร้อมด้านองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพในการเข้าถึงความรู้ เข้าใจในคุณค่าของภูมิปัญญาพื้นถิ่น และบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาผลงานสถาปัตยกรรมของชาติ ระหว่างชุมชนเป้าหมายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) เพื่อสร้างแนวทางและทิศทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรมประเภทอาคารพักอาศัย (เฮือนไต) แบบบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อนโยบายการท่องเที่ยวของประเทศในอนาคต และ 4) เสนอแนวทางการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรมในมณฑลวัฒนธรรมสองฝั่งโขง

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การศึกษาการใช้เรือพลังแสงอาทิตย์เพื่อการท่องเที่ยวในแนวปะการัง

Study on Using Solar Powered Catamaran for Coral Reef Tourism

โดย สุวรรณ พิทักษ์สินธร และคณะ

6

โครงการ “การศึกษาการใช้เรือพลังแสงอาทิตย์เพื่อการท่องเที่ยวในแนวปะการัง” เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเรือที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวในการขับเคลื่อนเรือเพื่อการพานักท่องเที่ยวเดินทางไปชมปะการัง และประเมินศักยภาพของเรือว่าจะเพียงพอจนให้ได้รับการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องในการนำไปใช้หรือไม่ โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทางทะเลบริเวณหมู่เกาะหมาก เกาะรัง (อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง) จังหวัดตราด ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ใช้เรือ นักท่องเที่ยว หน่วยงานที่ดูแลนักท่องเที่ยวและบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยว เรือพลังแสงอาทิตย์นี้มีการสร้างเป็นที่แพร่หลายในต่างประเทศโดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่เรือบางลำมีศักยภาพสามารถใช้เดินทางได้รอบโลก

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

โครงการ การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารโดยกลุ่มหาบเร่แผงลอยกับการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยว

Gastronomic tourism of hawking food and tourism destination selection

โดย ดร.โรจนศักดิ์ โฉมวิไลลักษณ์ และคณะ

7

การวิจัยเรื่อง “การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารโดยกลุ่มหาบเร่แผงลอยกับการตัดสินใจ เลือกสถานที่ท่องเที่ยว” มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาสภาพการท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารโดยกลุ่มหาบเร่แผงลอยกับการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในปัจจุบัน และเพื่อทำการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภาพลักษณ์ด้านต่างๆ กับการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วย ภาพลักษณ์ด้านความสะอาด ภาพลักษณ์ความปลอดภัย ภาพลักษณ์ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ภาพลักษณ์ด้านสังคม ภาพลักษณ์ด้านความสาคัญเชิงวัฒนธรรมและความเป็นเอกลักษณ์ ภาพลักษณ์การเป็นสิ่งจัดสร้างขึ้น (แทนที่จะเป็นของแท้จริง) และภาพลักษณ์ด้านความคุ้มค่าเงินของอาหารหาบเร่แผงลอยและ/หรือร้านอาหารหาบเร่แผงลอย ณ สถานที่ท่องเที่ยว

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

ระบบให้ข้อมูลการเดินทางเฉพาะบุคคลสำหรับการท่องเที่ยวไทย

(Personalized Travelling Information Services for Thailand Tourism)

โดย ดร.ดวงเดือน อัศวสุธีรกุล และคณะ

8

การเดินทางท่องเที่ยวจัดเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีรูปแบบไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของนักท่องเที่ยวแต่ละคน ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีหลากหลายด้านสถานที่ท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติที่สวยงาม วัฒนธรรมที่โดดเด่น ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ และกิจกรรมนันทนาการที่หลายหลาย ความท้าทายหนึ่งของการเดินทางท่องเที่ยวแต่ละครั้ง คือ การเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอยู่อย่างหลากหลายให้สอดคล้องกับความสนใจของนักท่องเที่ยวแต่ละคนมากที่สุด งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาโดยการวิเคราะห์หาความสนใจของนักท่องเที่ยวแต่ละคนเพื่อแนะนาสถานที่ท่องเที่ยวและวางแผนการเดินทางให้ตรงกับความต้องการมากที่สุดณาการ

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

Tourism Management and Administration in the Upper North of Thailand for Supporting Senior Tourists

โดย กรวรรณ สังขกร และคณะ

9

นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุเป็นตลาดที่มีศักยภาพและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากโครงสร้างของสังคมกาลังจะก้าวสู่สังคมของผู้สูงอายุ สหประชาชาติได้คาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นจาก 687.9 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2549 เป็น 1,968 ล้านคนในปี พ.ศ. 2593 แนวโน้มของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยสูงขึ้นทุกปี การท่องเที่ยวสาหรับผู้สูงอายุจึงเป็นช่องทางการท่องเที่ยวตลาดใหม่ที่ประเทศไทยจะมุ่งเน้น เนื่องจากเป็นตลาดที่มีคุณภาพ และมีกำลังซื้อในการท่องเที่ยวสูงกว่าตลาดทั่วไป ซึ่งต้องทำการคัดสรรสินค้าทางการท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

ระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กรณีศึกษาอาเภอหัวหิน โดยอาศัยออนโทโลยีและเทคโนโลยีการประมวลผล

แบบขนานบนกลุ่มเมฆ

(Health Tourism Management: Case Study in Hua Hin with Ontology and Parallel and Cloud Computing)

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. จันทนา จันทราพรชัย และคณะ

10

ในแผนงานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยนำเสนอการพัฒนาระบบจัดการข้อมูลเชิงสุขภาพกรณีศึกษาอำเภอหัวหิน ด้วยออนโทโลยี การประมวลแบบขนาน และกลุ่มเมฆ แผนงานนี้เป็นการผสมผสานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งสามด้านนี้ มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอำเภอหัวหิน แผนงานวิจัยนี้ครอบคลุมการสำรวจความต้องการผู้ใช้ ในบทบาทต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานของเทศบาล นักท่องเที่ยว และสถานประกอบการ คณะผู้วิจัยได้ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซอฟต์แวร์สารสนเทศการท่องเที่ยวของประเทศอื่น รวมทั้งงานวิจัยด้านออนโทโลยีการท่องเที่ยวและเว็บเชิงความหมาย กลุ่มเมฆ การคำนวณแบบขนาน

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

1-10

11-20

21-30

31-35

Copyright 2016. All Rights Reserved. Tourism and Hospitality Management Program