งานวิจัยปี 2556

1-10

11-20

21-30

31-35

การพัฒนาการบริหารจัดการของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเส้นทาง R3E เพื่อรองรับประชาคม

เศรษฐกิจอาเซียน

(The Management Development of Cultural Tourism Entrepreneurs in the R3E Route in Preparation for the ASEAN Economic Community)

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนวัต ลิมป์พาณิชย์กุล และคณะ

21

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการบริหารจัดการของผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเส้นทาง R3E เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยใช้ความร่วมมือจากนักวิจัย นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโซ่อุปทาน ในพื้นที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศไทย ลาว และจีน

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การพัฒนาระบบอุปทานการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร

(The Development of Supply Network for Creative Tourism in Bangkok Metropolitan Area)

 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วุฒิไกร งามศิริจิตต์ และ คณะ

22

โครงการนี้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนา 3 ส่วนหลัก ประกอบด้วย บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ใหม่ ระบบอุปทานการท่องเที่ยวของชุมชน และระบบอุปทานการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้และเป็นต้นแบบสาคัญในการพัฒนาบริการและโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกรุงเทพมหานคร ระบบอุปทานการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ได้จากการศึกษาวิจัยในโครงการนี้จะมีรากฐานมาจากการศึกษาทั้งในเชิงพฤติกรรม เชิงปฏิบัติการและเชิงระบบ

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการปี 2556

Monitoring and Evaluating Tourism and Service Industry Research Projects, of 2013 Fiscal Year

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์ และคณะ

23

โครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการปี 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ติดตามการดำเนินงานโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ปี 2556 ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก วช. ร่วมกับ สกว. จานวน 29 โครงการ 2) ประเมินผลโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการปี 2556 ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก วช. ร่วมกับ สกว. 3) เสริมสร้างคุณภาพและประสิทธิภาพนักวิจัยด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ 4) เผยแพร่ผลงานวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการปี 2556 ที่ได้รับสนับสนุนจาก วช. ร่วมกับ สกว. โดยจัดทำสื่อวีดิทัศน์ จัดประชุมเวที สกว. (TRF Forum) จัดพิมพ์จดหมายข่าว (TRF Policy Bulletin) นอกจากนี้ยังมีการผลักดันผลผลิตงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ งานวิจัยโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ปี 2556

Analysis Synthesis and Total Economic Value of Tourism and Service Industry Research Projects, of 2013

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวิช สุดสาคร และคณะ

24

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความสอดคล้องของงานวิจัยด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการที่ได้รับทุนสนับสนุนในปี พ.ศ.2556 2) เพื่อการประเมินมูลค่าทำงเศรษฐศาสตร์ (วิเคราะห์การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์) ของงานวิจัยโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ปี 2555-2556 3) เพื่อคัดเลือกแผนงานวิจัยของโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการที่ได้รับทุนในปี 2556 ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และ 4) เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบวิจัยด้านการบริหาจัดการการท่องเที่ยวปี 2558

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

แนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคตะวันตก เพื่อรองรับเศรษฐกิจพิเศษทวาย

Guides to the Tourism Management and Environmental Conservation in Western Past of Thailand Towards the Capability of Dawei Special Economic Zone

โดย รองศาสตราจารย์สยาม อรุณศรีมรกต และคณะ

25

แผนงาน “แนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคตะวันตก เพื่อรองรับเศรษฐกิจพิเศษทวาย” ประกอบด้วย 2 โครงการวิจัยย่อย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางสังคมสุขภาวะ และสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคตะวันตก เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและเสนอมาตรการเชิงนโยบายเพื่อป้องกันและลดผลกระทบทั้งสามด้าน

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ:กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติทับลาน

Impacts of Tourism on a Natural World Heritage Site: A Case Study of Thab Lan National Park

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แสงสรรค์ ภูมิสถาน และคณะ

26

การศึกษาในครั้งนี้มีที่มาจากสถานการณ์การท่องเที่ยวในต้าบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่มรดกโลก ประเด็นหลักคือความขัดแย้งระหว่างความต้องการการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นกลยุทธ์หลัก และการจัดการพื้นที่มรดกโลกที่มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาองค์ประกอบและพลวัตการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลไทยสามัคคี ศึกษาผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อระบบเศรษฐกิจ-สังคม รวมถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อระบบนิเวศในมิติต่างๆ ประกอบด้วยผลกระทบต่อสังคมพืชและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ผลกระทบต่อคุณภาพน้้ำในแหล่งน้้ำธรรมชาติ และผลกระทบต่อการเกิดการสูญเสียดินและการเกิดตะกอนในพื้นที่ลุ่มน้ำ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานของสถานภาพของพื้นที่ในฐานะพื้นที่มรดกโลก และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

แผนงานนโยบายและกลยุทธ์การพัฒนาทุนมนุษย์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารไทยเชิงสร้างสรรค์สาหรับกลุ่มท่องเที่ยว Active Beach เพื่อรองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Human Capital Development Policy and Strategy of Creative Thai Gastronomic Tourism for Active Beach Tourism Clusteraccording to ASEAN Economic Community (AEC)

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ปิยะนุช เงินคล้าย และ คณะ

27

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านทุนมนุษย์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารไทยเชิงสร้างสรรค์สาหรับกลุ่มท่องเที่ยว Active Beach เพื่อรองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและนำมาเป็นแนวทางในการกาหนดนโยบายและกลยุทธ์และรูปแบบการท่องเที่ยว นอกจากนี้ได้จัดทำคู่มือการประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยวด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร และคู่มือสำหรับการดำเนินการพัฒนาทุนมนุษย์ด้านการท่องเที่ยวด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร เพื่อใช้ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาทุนมนุษย์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านดังกล่าว

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

การศึกษาศักยภาพและมูลค่าของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต่อการสร้างรายได้ของจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี สระแก้ว
และสมุทรสาคร ในเขตภาคกลาง

A Study of Potential and Value of Tourism Products for Increasing Income in Chai Nat, Sing Buri,
Sa Kaeo, and Samut Sakhon Provinces, in the  Central Region of Thailand.

โดย รองศาสตราจารย์  ศิริชัย พงษ์วิชัย

28

การศึกษานี้เป็นการบูรณาการของ 3 โครงการย่อยคือ 1) การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยว 2) แผนการตลาดท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ 3)การจัดการความรู้การท่องเที่ยวและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมรายได้อย่างยั่งยืนของทั้ง 4 จังหวัด มีวิธีการศึกษาร่วมกันคือการดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สำหรับการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพได้ทำการไปพร้อมกันโดยศึกษาเชิงลึกแบบสนทนากลุ่มย่อยกับกลุ่มบุคคล 3 กลุ่มคือ กลุ่มประชาชนในพื้นที่กลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว และกลุ่มองค์กรท้องถิ่นทั้งหน่วยราชการ โดยทำการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 พื้นที่ต่อ 1 จังหวัด สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณแต่ละโครงการใช้แบบสำรวจของแต่ละโครงการและบูรณาการผลการศึกษาร่วมกัน โดยทำการศึกษาจากนักท่องเที่ยวที่เคยและอยู่ระหว่างการท่องเที่ยว โดยการศึกษาเน้นการศึกษาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยว 5 ผลิตภัณฑ์ คือ อาหาร นันทนาการ ที่พัก  องค์ความรู้ ธรรมชาติ

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

นโยบายการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทยเพื่อรองรับ

การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(Policies to Enhance and Improve the Tourism Competitiveness of Thailand for Support the ASEAN Economic Community)

โดย ดร.อัครพงศ์ อั้นทอง และคณะ

29

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงลึกถึงทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานเพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทยและอาเซียน 2) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวไทยของนักท่องเทียวอาเซียน 3) ศึกษาปัจ จัยที่กระตุ้นให้เกิดการดาเนินงานที่มีประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมโรงแรมไทย และ 4) ค้นหาแนวทางการพัฒนาทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมโรงแรมของไทย

ดาว์นโหลดผลการศึกษา

1-10

11-20

21-30

31-35

Copyright 2016. All Rights Reserved. Tourism and Hospitality Management Program